1.การสื่อสารมีความสำคัญกับการเรียนรู้อย่างไร
-การเรียนรู้ของคนเรามักเกิดขึ้นใน 2 ลักษณะคือ จากการได้รับการถ่ายทอดจากผู้อื่น และเกิดการรู้ได้ด้วยตนเอง แต่ส่วนใหญ่แล้วการเรียนรู้ของคนเราเกิดจากการได้รับการถ่ายทอดจากผู้อื่น และในการถ่ายทอดความรู้ดังกล่าว ย่อมต้องอาศัยกระบวนการสื่อสารเป็นสำคัญ
2.องค์ประกอบของการสื่อสาร มีอะไรบ้าง
-องค์ประกอบที่สำคัญของการสื่อสารประกอบด้วย
1. ผู้ส่งสาร (Source) คือ ผู้ที่นำข่าวสารเรื่องราว ความรู้ ความคิด ตลอดจนเหตุการณ์
ต่างๆเพื่อส่งไปยังผู้รับซึ่งอาจเป็นบุคคล กลุ่มบุคคล องค์กร หรือสถาบันก็ได้ เช่น ผู้อ่าน ข่าว ครู สถาบันการศึกษา เป็นต้น
2. เรื่องราว (Message) ได้แก่ เนื้อหาของสารหรือเรื่องราวที่ส่งออกมา เพื่อให้ผู้รับรับ
ข้อมูลเหล่านั้น เช่น ความรู้ ความคิด ข่าวสาร เหตุการณ์ต่างๆ เป็นต้น
3. สื่อ (Channel) หมายถึง ตัวกลางที่ช่วยถ่ายทอดแนวคิด ความรู้ เหตุการณ์ต่างๆที่ผู้
ส่งต้องการให้ไปถึงผู้รับ สื่อที่ใช้มากก็คือ ภาษาพุด ภาษาเขียน
4. ผู้รับสาร (Receiver ) ได้แก่ ผู้ที่รับเนื้อหาของสารหรือเรื่องราวที่ผู้ส่งสารส่งมา ผู้รับ
นี้อาจเป็นบุคคล กลุ่มชน องค์กร หรือสถาบันก็ได้ เมื่อรับเรื่องราวแล้วผู้รับต้องมี การแปลข่าวสารนั้นให้เข้าใจ เหตุการณ์
3.จงเขียนแผนผังของกระบวนการสื่อสาร
4.ในกระบวนการเรียนการสอนนั้น ทำไมครูจึงควรใช้รูปแบบการสื่อสารสองทางคนเราสามารถรับรู้ทางใดมากที่สุด ในปริมาณเท่าไร
-มนุษย์เราสามารถรับรู้ได้มากที่สุดคือทางตาประมาณ 75%
5. องค์ประกอบที่สำคัญในการเรียนรู้มีอะไรบ้าง
-1 ความสมบูรณ์ของประสาทสัมผัส บุคคลจะรับรู้สิ่งเร้าได้ดี ถ้าบุคคลนั้นมีอวัยวะรับสัมผัสดี
2 การแปลความหมาย บุคคลจะรับรู้สิ่งเร้าได้ดีและถูกต้อง ถ้าบุคคลนั้นแปลความหมายได้ถูกต้อง
3 ประสบการณ์เดิม บุคคลจะรับรู้สิ่งเร้าได้ดีและถูกต้องถ้าบุคคลมีประสบการณ์เดิมที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ใหม่
4 ความตั้งใจที่จะรับรู้ บุคคลจะรับรู้สิ่งเร้าได้ดีและถูกต้องถ้าบุคคลมีความตั้งใจที่จะรับรู้ในสิ่งเร้านั้น ลักษณะที่สำคัญของสิ่งเร้าจำแนกได้ดังนี้
+1 สิ่งเร้าภายนอก จะมีลักษณะที่จะสนับสนุนและกระตุ้นให้เกิดการรับรู้ได้ดี เช่น ความเข็มของสีและแสง ความแปลกใหม่ ความเคลื่อนไหวได้มีขนาดใหญ่มีสีสะดุดตา มีกลิ่น มีการปกปิดให้เป็นเรื่องลึกลับ มีการปิด-เปิด ฯลฯ
+2 สิ่งเร้าภายในที่มีผลต่อการตั้งใจรับรู้มีลักษณะดังนี้
+ ตรงกับความสนใจของบุคคลที่จะรับรู้
+ ตรงกับความต้องการของบุคคลที่จะรับรู้
+ ตรงกับเจตคติของบุคคลที่จะรับรู้
+ มีการเตรียมตัวเตรียมใจที่จะรับรู้
+ มีอารมณ์ร่วมโดยเฉพาะเด็กวัยรุ่น
5 วัยของผู้รับรู้ บุคคลที่มีวัยเท่ากันก็จะรับรู้ได้ใกล้เคียงกัน
6.อุปสรรคในการสื่อความหมาย มีอะไรบ้าง
-1. ความสามารถในการเข้ารหัส ผู้ส่งสารอาจขาดความสามารถในการแปลความต้องการของตนให้เป็นสัญญาณ เช่น บางคนมีความคิดแต่ไม่รู้จะถ่ายทอดความคิดให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร
2. ความบกพร่องของสื่อและช่องทาง เช่น สื่อที่ใช้ในการถ่ายทอดไม่ชัดเจน ไม่เป็นรูปธรรม ตลอดจนความบกพร่องของช่องทางในการรับส่งสัญญาณ เช่น ตาไม่ดี หูไม่ดี เป็นต้น
3. มีสิ่งรบกวนสัญญาณ (Noise) แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้
3.1 สิ่งรบกวนภายนอก ได้แก่ ความไม่สะดวกทางกายภาพ เช่น ความแออัดของสถานที่ เสียงรบกวนที่ดัง กลิ่นที่ไม่พึงประสงค์
3.2 สิ่งรบกวนภายใน ได้แก่ อุปสรรคที่มาจากภายในตัวของผู้ส่งสารและผู้รับ
สาร เช่น ความเครียด อารมณ์ที่ขุ่นมัว จิตใจเลื่อนลอย เป็นต้น
4. ความสามารถในการถอดรหัสสัญญาณของผู้รับสาร ได้แก่ ข้อจำกัดในการรับสัญญาณและการแปลความหมาย ซึ่งจำแนกได้ดังนี้
4.1 อุปสรรคทางด้านภาษา (Verbalism) ได้แก่ ความไม่เข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อภาษาที่
ใช้ในการสื่อความหมาย
-1. ความสามารถในการเข้ารหัส ผู้ส่งสารอาจขาดความสามารถในการแปลความต้องการของตนให้เป็นสัญญาณ เช่น บางคนมีความคิดแต่ไม่รู้จะถ่ายทอดความคิดให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร
2. ความบกพร่องของสื่อและช่องทาง เช่น สื่อที่ใช้ในการถ่ายทอดไม่ชัดเจน ไม่เป็นรูปธรรม ตลอดจนความบกพร่องของช่องทางในการรับส่งสัญญาณ เช่น ตาไม่ดี หูไม่ดี เป็นต้น
3. มีสิ่งรบกวนสัญญาณ (Noise) แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้
3.1 สิ่งรบกวนภายนอก ได้แก่ ความไม่สะดวกทางกายภาพ เช่น ความแออัดของสถานที่ เสียงรบกวนที่ดัง กลิ่นที่ไม่พึงประสงค์
3.2 สิ่งรบกวนภายใน ได้แก่ อุปสรรคที่มาจากภายในตัวของผู้ส่งสารและผู้รับ
สาร เช่น ความเครียด อารมณ์ที่ขุ่นมัว จิตใจเลื่อนลอย เป็นต้น
4. ความสามารถในการถอดรหัสสัญญาณของผู้รับสาร ได้แก่ ข้อจำกัดในการรับสัญญาณและการแปลความหมาย ซึ่งจำแนกได้ดังนี้
4.1 อุปสรรคทางด้านภาษา (Verbalism) ได้แก่ ความไม่เข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อภาษาที่
ใช้ในการสื่อความหมาย
7.จงยกตัวอย่างแบบจำลองของการสื่อสารมา 1 แบบ
8.จงเปรียบเทียบองค์ประกอบของการสื่อสาร
9.จงอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสาร การรับรู้ และการเรียนรู้
-การสื่อสาร เป็นกระบวนการที่มนุษย์ติดต่อถ่ายทอดเรื่องราว แลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร สร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารโดยผ่านสื่อต่างๆ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้รับอย่างมีวัตถุประสงค์ ดังนั้นการถ่ายทอดความรู้ในการเรียนการสอน ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน จึงจำเป็นต้องดำเนินไปตามกระบวนการการสื่อสารด้วยเช่นกัน
ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้บังเกิดประสิทธิภาพ จำเป็นที่ผู้สอนจะต้องนำกระบวนการสื่อสารมาปรับใช้กับกระบวนการเรียนการสอน เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพของสื่อ และการป้องกันสิ่งรบกวน เป็นต้น